การดูแลรักษามอเตอร์

  1. จัดการระบบระบายความร้อน ด้วยอากาศที่สะอาดและมีความเพียงพอ
     
  2. ดูแลรักษาขดลวดมอเตอร์ทุก 3 ปีหรือ 5 ปี อาจตรวจสอบฉนวนที่เคลือบอยู่ และทำการเคลือบฉนวนซ้ำ, ตรวจสอบตลับลูกปืน อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนจาระบีเพื่อช่วยให้การหล่อลื่นดีขึ้น ทั้งนี้การเคลือบฉนวนมอเตอร์มีต้นทุนน้อยกว่าการเปลี่ยนขดลวดมอเตอร์และการเปลี่ยนตลับลูกปืนก่อนที่มันจะเสีย สามารถช่วยลดความเสียหายที่อาจเกิดกับเพลาของมอเตอร์และชิ้นส่วนอื่นๆ ได้อย่างมาก สิ่งสำคัญที่สุดของการซ่อมบำรุงมอเตอร์ไฟฟ้า คือ ช่วยลดโอกาสและความเสี่ยงที่เป็นสาเหตุให้หยุดชะงัก เนื่องจากมอเตอร์เสียหายจนต้องใช้เวลาอย่างมากในการเปลี่ยนมอเตอร์ตัวใหม่
     
  3. ก่อนที่จะเดินเครื่อง ควรตรวจสอบขั้วไฟฟ้าต่างๆ  ว่าแน่นเพียงพอหรือไม่ หากขั้วไฟฟ้าหลวม เมื่อใช้งานไปจะเกิดความร้อนขึ้นที่จุดต่อนี้ และมีโอกาสที่จะทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าเสียหายได้  แรงดันไฟฟ้าที่ตกคร่อมในจุดต่อที่หลวม จะทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าทำงานที่ระดับแรงดันต่ำกว่าพักัด ส่งผลให้เกิดความร้อนในตัวมอเตอร์ ยิ่งไปกว่านี้ หากจุดต่อเกิดการแตกหักและหลวม จนทำให้เฟสของแรงดันไม่ครบ กรณีนี้มอเตอร์ไฟฟ้าจะเสียหายได้เกือบจะทันที
     
  4. สิ่งที่ต้องตระหนักอยู่ในใจเสมอก็คือ ความชื้นและน้ำต้องอยู่ห่างจากตัวมอเตอร์ นั่นหมายถึง พื้นที่ติดตั้งและฐานรองซึ่งอาจเป็นเหล็ก ก็จะมีโอกาสขึ้นสนิมได้ช้าลง มอเตอร์จึงมีโอกาสที่จะสั่นสะเทือนได้น้อยลง ขั้วต่อไฟฟ้าก็จะแน่นอยู่เสมอ